เมื่อผ่านการใช้งานและกาลเวลา อาคารหรือบ้านเรือนต่างๆ มักจะเกิดการเสื่อมสภาพ มีรอยร้าว หรือปัญหาอื่นๆ มากมาย ซึ่งล้วนต้องมีการซ่อมบำรุง ไม่ต่างจากผู้คนที่ต้องการแพทย์เพื่อรักษา หลายๆ ท่านอาจจะมองว่างานซ่อมแซมโครงสร้างอาคารเป็นเรื่องไกลตัว แต่มันอาจเป็นปัญหาที่น่ากลัวและน่าปวดหัวกว่าที่คิด
รอยร้าว ภัยเงียบที่ไม่รอให้คุณตั้งตัว
รอยร้าวบนพื้นที่ต่างๆ ในอาคาร ไม่ว่าจะเป็น กำแพง พื้น คาน หรือแม้กระทั่งเสาอาคารที่ มักจะถูกมองข้าม แต่หลายๆ ท่านทราบรึเปล่าว่ารอยร้าวเหล่านั้นเป็นสัญญาณที่จะบ่งบอกถึงปัญหาที่จะตามมา ซึ่งอาจจะเป็นการทรุดตัวของเสาอาคาร ที่รับน้ำหนักมากเกินไป หรือการต่อเติมบ้านแบบผิดหลักโดยขาดการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
ประเภทของรอยร้าวในโครงสร้างอาคารมีแบบไหนบ้าง?
หากดูแบบผิวเผิน รอยร้าวที่เกิดขึ้นอาจจะดูไม่ต่างกันมาก ท่านอาจไม่ทราบว่างานซ่อมรอยร้าวคอนกรีตควรเกิดขึ้นรึเปล่า แต่สามารถสังเกตุได้จากทิศทางการแตกร้าว และจุดที่เกิดรอยแตก ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้
1. รอยร้าวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง (Non-Structural Crack)
ปัญหารอยร้าวประเภทนี้มักเกิดจากปัจจัยของอุณภูมิที่แตกต่างกันที่แต่ละจุดของอาคาร ทำให้มีการยืดหดของคอนกรีตที่ไม่สม่ำเสมอ ก่อให้เกิดการแตกร้าวที่เรียกกันว่าลายงา ตามกำแพงและพนัง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การฉาบปูนเร็วเกินไป คอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือช่างที่ขาดความชำนาญ ฯลฯ ไม่สร้างอันตรายใดๆ ที่รุนแรง แต่อาจเป็นต้นเหตุของน้ำรั่วซึมในผนังบ้าน
- การแตกลายงาบนกำแพงและผนัง
มีลักษณะที่ตื้นและมีเส้นเล็กที่ร้าวต่อๆ กันเป็นลายงา และทำให้ความสวยงามของอาคารลดน้อยลง ก่อให้เกิดความหงุดหงิดใจไม่น้อยต่อผู้อยู่อาศัย
2.รอยร้าวจากโครงสร้าง (Structural Crack)
รอยร้าวประเภทนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างของอาคาร โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจาก การก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน การออกแบบผิดประเภท การทรุดตัวของฐานก่อสร้าง หรือ การบรรจุน้ำหนักเกินพิกัดของโครงสร้าง อาจจะส่งผลให้อาคารทรุดตัว เสาอาคารแยกออกจากกัน อาคารเอียง ฯลฯ ซึ่งลักษณะของรอยร้าวประเภทนี้สามารถแยกได้เป็นหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเกิดรอยร้าว อย่างเช่น
- การร้าวแนวเฉียง
เกิดจาการทรุดตัวของคานและเสา ที่มักจะร้าวเป็นแนวทแยงจากมุมด้านบนของผนังหรือเสานั้นๆ เป็นผลจาการต่อเติมบ้านแบบผิดหลัก จนทำให้ฐานโครงสร้างไม่สมดุลและเสาเข็มเกิดการเคลื่อนออกจากจุดเดิม จนนำมาซึ่งการร้าวนั่นเอง - การร้าวแตกลึกที่เสา
เป็นผลจากการที่เสาของอาคารรับน้ำหนักมากเกินไป อาจจะเป็นการนำเครื่องจักรชิ้นใหญ่มาติดตั้ง การใช้บ้านเป็นอาคารเก็บสิ่งของ ทำให้คานแยกออกจากกัน และหากสังเกตุเห็นเหล็กเสริมที่อยู่ภายในเสาได้ชัดเจน แปลว่าอาคารนั้นมีความเสี่ยงที่จะถล่มสูง ควรย้ายสิ่งของออกหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที - การร้าวกลางคาน
เมื่อตัวอาคารต้องมีการแบกรับน้ำหนักมากๆ เป็นเวลานาน หรือมีน้ำรั่วซึมจากพื้นชั้นบนจนทำให้เหล็กเสริมภายในเกิดสนิม จนตัวคานนั้นถูกดันออกมา มีรอยแตกร้าว หรือถึงกับมีการแอ่นตัวลงมาได้ ควรดำเนินการย้ายสิ่งของออกก่อน เพื่อป้องการการทรุดของพื้นชั้นบน และติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างของอาคาร
งานซ่อมแซมโครงสร้างอาคารมีกี่วิธี?
การซ่อมรอยร้าวคอนกรีตนั้นมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายและการพิจราณาของผู้รับเหมาหรือวิศวกรผู้รับผิดชอบ ส่วนวิธีการซ่อมแซมที่เป็นที่นิยม ได้แก่
- การฉีดอัด (Injection)
เหมาะสำหรับใช้ซ่อมแซมรอยร้าวขนาดเล็ก โดยการฉีดอีพ็อกซี่ (Epoxy Injection) ตรงเข้าสู่รอยร้าวนั้นๆ - การเกราท์ (Grouting)
เป็นวิธีการซ่อมแซมโดยการใช้ซีเมนต์เป็นวัสดุพื้นฐานในการอุดระหว่างซอกของรอยร้าว ซึ่งจะใช้งานได้ดีกับรอยร้าวที่มีขนาดกว้าง - การฉาบปะ (Patching)
การฉาบปะเป็นวิธีที่ใช้ได้ดีต่อการซ่อมรอยแตกที่หลุดร่อนออกจากตัวผนังหรือรอยร้าวขนาดใหญ่ - การเท (Placing)
หากรอยร้าวมีการแตกหรือเหล็กภายในขึ้นสนิม การเทคอนกรีตใหม่เข้าแทนที่เป็นวิธีสะดวกและรวดเร็ว แต่รอยแตกเหล่านั้น อาจจะต้องมีขนาดที่ใหญ่พอสมควรในการที่จะใช้วิธีดังกล่าว
หลายๆ ท่านอาจเคยพบเจอกับรอยแตกร้าว ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวเล็กๆ น่ากวนใจ หรือแม้กระทั่งรอยแตกขนาดใหญ่ที่ดูอันตรายจนน่าเป็นห่วง ด้วยเหตุนี้เองงานซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร จึงเป็นส่วนสำคัญในการบำรุงให้อาคาร บ้านเรือน มีอายุการใช้งานได้ยืนยาวและอยู่กับท่านไปนานๆ
บริษัท เทคโนพลัส (ไทยแลนด์) จํากัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญงานติดตั้งระบบกันซึม ระบบเคลือบพื้นผิว ด้วยผลิตภัณฑ์ชั้นนำคุณภาพสูง และแก้ไขซ่อมโครงสร้างอาคารทุกชนิด สำหรับการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้าจะคิดเป็นระบบกันซึมดาดฟ้าต่อตารางเมตร หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อ บริษัท เทคโนพลัส (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ที่ technoplus.th@gmail.com หรือ โทร: 02-136-7137 และ 096-867-1888